สวัสดีจ้าน้องๆ ทุกคน วันนี้ The Pillars มีเคล็ดลับเด็ดๆ ที่จะช่วยให้น้องๆ สามารถพิชิตคะแนน IELTS Writing ได้อย่างง่ายดาย รับรองว่าถ้าได้อ่านแล้วนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ น้องๆ จะสามารถทำคะแนน IELTS 7.0 ได้อย่างไม่ยากเลยค่ะ
Time Management
ก่อนอื่นน้องๆ ต้องรู้จักลักษณะของข้อสอบ IELTS writing อย่างละเอียดก่อน ว่าจะต้องเขียนทั้งหมด 2 บทความ จากโจทย์ 2 ข้อ โดยมีเวลาให้น้อง ๆ ได้เขียนเพียงแค่ 60 นาที แต่ไม่ใช่ว่าจะแบ่งเป็นบทความละ 30 นาทีนะคะ เพราะแต่ละบทความมีสัดส่วนคะแนนไม่เท่ากัน ถ้าใช้เวลากับบทความที่มีคะแนนน้อยกว่า มันจะไม่คุ้มกับเวลาที่เสียไปค่ะ ซึ่งถ้าเห็นแบบนี้แล้วเราจะเริ่มแบ่งเวลากันยังไง ไปดูกันเลย
สำหรับบทความที่ต้องเขียนตอบมี 2 บทความ ได้แก่
1. บทความแรก (40%ของคะแนนทั้งหมด) เป็นการบรรยายลักษณะกราฟ ตาราง แผนภูมิ แผนผัง หรือแผนที่ ซึ่งต้องเขียนอย่างน้อย 150 คำ และจะมีการให้คะแนนที่น้อยกว่าบทความที่สอง ดังนั้นในส่วนนี้น้องๆ ควรใช้เวลาไม่เกิน 20 นาที สำหรับการพิชิตบทความด้วยเวลาที่รวดเร็วและได้ประสิทธิภาพมากที่สุด สิ่งสำคัญคือ น้องๆ ต้องใช้คำศัพท์ในการบรรยายร่วมกับการใช้ Connectors ต่างๆ และการเขียนเปรียบเทียบเพื่อทำให้บทความที่เขียนออกมานั้นอ่านแล้วลื่นไหลไม่สะดุด อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้กรรมการเห็นถึงความสามารถในการเขียนของน้องๆ อีกด้วย
คำศัพท์ที่น้องๆ จำเป็นต้องรู้ในการเขียนบทความนี้ คือคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเช่น การเพิ่มขึ้น (increase), ลดลง (decrease), คงที่ (steadfast) รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วหรือ ช้าๆ ซึ่งจะทำให้กรรมการเห็นว่าน้องๆ สามารถนำเอาคำ Nouns, Adverb หรือ Adjective มาใช้ในการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. บทความที่สอง (60%ของคะแนนทั้งหมด) จะเน้นในส่วนของการเขียนเรียงความg=เชิงวิชาการ โดยจะต้องทำให้กรรมการเห็นถึงความสามารถในการแสดงความคิดเห็น การแก้ปัญหา การเปรียบเทียบ หรือการโต้แย้ง ได้อย่างมีเหตุผล ซึ่งน้องๆ ต้องเขียนอย่างน้อย 250 คำ (มากกว่าบทความแรก) ดังนั้นถ้าบริหารเวลาในบทความแรกได้ดี ก็จะมีเวลามากพอในการร่างเค้าโครงความคิด ก่อนเขียนบรรยายและที่สำคัญน้องๆ จะต้องตอบคำถามที่โจทย์ถามด้วยเสมอ ดังนั้นการวางเค้าโครงของบทความที่สองนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการแบ่งเวลาทำข้อสอบ เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ น้องๆ ต้องบริหารเวลาให้ดี ร่างเค้าโครงของไอเดียก่อนเริ่มเขียน เพื่อให้เป็นการประหยัดเวลาถ้าเกิดมีการแก้ไข เทคนิคง่ายๆ คือน้องๆ ควรเขียนคำตอบแบบบรรทัดเว้นบรรทัด หากเขียนผิดจะได้ไม่ต้องเสียเวลาลบ ให้ขีดฆ่าแล้วเขียนแก้กำกับไว้ได้เลย และที่สำคัญคือการเขียนตอบข้อสอบ IELTS ในทั้งสองบทความนี้คืออย่าเขียนน้อยกว่าจำนวนที่กำหนด ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรเขียนเกินเยอะจนเกินไป เพราะจะทำให้ทำข้อสอบไม่ทัน
การนับจำนวนคำ มาถึงตรงนี้แล้ว น้องๆ บางคนอาจสงสัยว่า แล้วเราจะรู้ได้ยังไงคะว่าเราเขียนไปกี่คำแล้ว ความจริงไม่ยากเลยค่ะ เพราะโดยเฉลี่ยแล้วการเขียนด้วยลายมือ 1 บรรทัด จะมีจำนวนคำทั้งหมด 9-11 คำ ดังนั้นถ้าน้องๆ เขียนได้ 10 บรรทัดก็เท่ากับว่าน้องๆ สามารถเขียนได้ 90-110 คำ เท่านี้ก็เป็นการประมาณจำนวนคำได้คร่าวๆ แล้ว และทาง The Pillars หวังว่าน้องๆ จะได้ได้ครบตามจำนวนคำที่เขาต้องการนะคะ
สิ่งต้องห้าม น้องๆ บางคนเห็นว่าคะแนนของบทความแรกน้อยกว่าบทความที่สอง จึงไม่ค่อยตั้งใจเขียนหรือละเลยในบทความแรกไป ทำให้ได้คะแนนออกมาไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ตอนนี้น้องๆ คงจะเข้าใจแล้วว่า 40% ของคะแนนทั้งหมด มาจากบทความแรก เพราะฉะนั้นห้ามประมาทเป็นอันขาดนะคะ เตือนแล้วนะ!!
TCLG Scoring
การที่น้องๆ จะได้คะแนนหรือถูกหักคะแนนใน IELTS Writing นั้น น้องๆ ควรรู้ก่อนว่า IELTS Writing นั้นต้องการให้เราเขียนอะไร และต้องการให้มีรูปแบบของภาษาเป็นแบบไหน โดยกรรมการมีหลักเกณฑ์ ในการให้คะแนนโดยแบ่งออกเป็น 4 ด้านหลักๆ ซึ่งในที่นี้เราจะเรียกย่อๆ ว่า TCLG Scoring โดยเกณฑ์ทั้ง 4 จะถูกแบ่งคะแนนออกเป็น 25% เท่ากัน ดังนั้นน้องๆ ควรระลึกเสมอว่าการเขียนนั้นต้องครบทั้ง TCLG จะทำให้ได้ออกคะแนนเยอะอย่างที่ตั้งใจไว้นะคะ ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูกันเลยค่ะ ว่า TCLG นั้นมีอะไรกันบ้าง
T (Task Achievement หรือ Task Response ): วัตถุประสงค์ของเกณฑ์นี้ คือการทำตามคำสั่งของโจทย์ หรือตอบคำถามให้ตรงประเด็น รวมไปถึงการเขียนจำนวนคำครบตามกำหนดดังที่กล่าวมาแล้วในเทคนิคแรก
C (Coherence and Cohesion): วัตถุประสงค์ของเกณฑ์ที่สองที่ คือการเรียงร้อยเนื้อหา ที่สอดคล้องกันทั้งหมดของบทความ เพื่อให้เกิดความ smooth ในการอ่าน รวมถึงเทคนิคการนำเอา Transition words มาใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมตรงกับบริบทที่ต้องการจะสื่อ
L (Lexical Resources): วัตถุประสงค์ของเกณฑ์นี้คือ กรรมการจะให้คะแนนการใช้คำศัพท์ที่ถูกต้อง ตรงตามบริบทและมีความหลากหลายของการใช้คำศัพท์ แน่นอนต้องรวมไปถึงการสะกดคำที่ถูกต้องด้วยนะคะ นอกจากนั้น ยังต้องมีการให้คะแนนในส่วนของใช้คำศัพท์พวกที่ยาก หรือเจอได้ไม่บ่อย (less common) ด้วย ดังนั้นน้องๆ อาจต้องเตรียมคำศัพท์กันหน่อยนะจ๊ะ
G (Grammatical Range and Accuracy): วัตถุประสงค์ข้อสุดท้ายคือ การใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้อง มีรูปแบบการเขียนโครงสร้างทางภาษาที่หลากหลาย และยังมีการให้คะแนนเกี่ยวกับการใช้รูปประโยคเชิงซ้อน หรือ Complex sentences อีกด้วย น้องๆ จะต้องนำเอาส่วนที่ขยายต่างๆ มาใช้ เช่น Relative clauses หรือ Participle เป็นต้น
นอกจากสิ่งที่ให้คะแนนแล้ว IELTS Writing ยังมีกฎเกณฑ์การหักคะแนนด้วยนะคะ ซึ่งจะมีอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ
Score Deduction
UNDERLENGTH หมายถึง คะแนนถูกหักเมื่อน้องๆ เขียนจำนวนคำน้อยกว่าที่กำหนด ในแต่ละ Task
OFF-TOPIC คือการเขียนนอกประเด็น ให้ระวังไว้เสมอว่า ห้ามเขียนนอกประเด็นเป็นอันขาด
MEMORISED คือการนำใช้ประโยคที่ท่องจำมาใช้ในทุกบทความ ซึ่งในบางครั้งอาจไม่สอดคล้องกับเรื่องที่เขียน และทำให้บทความดูไม่ธรรมชาติ ซึ่งข้อนี้ Examiner เค้าดูออกและหักคะแนนได้
ILLEGIBLE สุดท้ายคือ ลายมือต้องอ่านออก เพื่อทำให้ Examiner เข้าใจเรื่องที่น้องเขียนได้ ซึ่งอันนี้สำคัญมากเพราะต่อให้คำตอบของน้องๆ ดีมากแค่ไหน แต่ลายมือที่อ่านไม่ออก ก็ส่งผลทำให้คะแนนติดลบได้นะคะ
คราวนี้น้องๆ ทุกคนคงรู้แล้วนะคะ ว่าเราต้องเขียนออกมาในแนวไหน หรือห้ามเขียนอะไรบ้าง เพื่อให้ได้คะแนนมากที่สุด และป้องกันไม่ให้คะแนนที่ได้มานั้นโดนหักออกไป เดี๋ยวคราวหน้า The Pillars จะมาเล่าถึงเทคนิคการวางเค้าโครงของการเขียน IELTS ให้น้องๆ ได้ทราบกันนะคะ ยังไงอย่าลืมติดตามกันตอนต่อไปด้วยนะคะ
คราวนี้น้องๆ ทุกคนคงรู้แล้วนะคะ ว่าเราต้องเขียนออกมาในแนวไหน หรือห้ามเขียนอะไรบ้าง เพื่อให้ได้คะแนนมากที่สุด และป้องกันไม่ให้คะแนนที่ได้มานั้นโดนหักออกไป เดี๋ยวคราวหน้า The Pillars จะมาเล่าถึงเทคนิคการวางเค้าโครงของการเขียน IELTS ให้น้องๆ ได้ทราบกันนะคะ ยังไงอย่าลืมติดตามกันตอนต่อไปด้วยนะคะ
Comments